โรงเรียนโรตารี่กรุงเทพ

โรงเรียนโรตารี่กรุงเทพ

ปณิธาน

ปณิธาน

วิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์

โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

พระราชวังไกลกังวล

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่7 โปรดปรานแปรพระราชฐานไปประทับที่หัวหินปีหนึ่งหลายครั้งและครั้งละ นานๆเมื่อพระราชวังไกลกังวลยังไม่ได้สร้างโดยเสด็จไป ประทับแรม ณ พระตำหนัก"แสนสำราญ" ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรวรฤทธิ์ ซึ่งอยู่ถัดไปจากโฮ;เต็ลหัวหินของกรมรถไฟ ณ พระตำหนักนั้นมีบริเวณกว้างขวางใหญ่โตมาก ส่วนข้าราชบริพารที่ตามเสด็จก็พักผ่อนกันตามบังกาโลเล็กๆในที่สุดก็ตกลงพระราชหฤทัยจับจองที่ดิน ณ ตำบลบ่อฝ้าย มีเนื้อที่หลายสิบไร่และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ม.จ.อิทธิเทพสรรกฤดากร(พระโอรสในกรมพระนเรศวรฯ)เป็นนายช่างใหญ่ควบคุมการก่อสร้างพระที่นั่งและ ตำหนักใหญ่น้อย ม.จ.อิทธิเทพฯรับสนองพระบรมราชองค์การไปตามพระราชประสงค์ โดยทรงเริ่มต้นด้วยการล้อมรั้ว
และแผ้วถางหญ้าและโค่นต้นไม้ถมปรับพื้นที่จนเรียบร้อยแล้วก็ทรงวางแผนผังพระราชวังอย่างงดงามตรงทางเข้ามีป้ายติดประกาศ "Private Property, Get Out" แปลว่า"ที่ส่วนตัว ออกไปให้พ้น"ในระหว่างที่กำลังก่อสร้างพระราชวังนั้น พระเจ้าพี่ยาเธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงคมนาคม ได้เสด็จไปตรวจราชการที่หัวหิน พอทรงทราบว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกำลังทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชวังใหม่ก็ทรงรู้สึกสนพระทัย จึงเสด็จไป ทอดพระเนตรและได้ทรงถือวิสาสะเสด็จเข้าไปในเขตรั้วเพื่อทอดพระเนตรรอบ ๆ บริเวณนั้น วันนั้นบังเอิญท่านผู้ควบคุมการก่อสร้างกำลังตรวจงานอยู่เห็นกรมพระกำแพงเพชรฯเสด็จเข้ามาภายในรั้วเช่นนั้นจึงบังเกิดโทสะรีบเดินมาเฝ้าแล้วยกมือชี้ไปที่ป้าย "ที่ส่วนตัว ออกไปให้พ้น" กรมพระกำแพงเพชรฯ ทอดพระเนตรป้ายแล้วรีบ สั่งถามว่า "แม้แต่ฉันก็เข้าไปไม่ได้หรือ" ท่านผู้ควบคุมการก่อสร้างทูลตอบว่า "ใคร ๆ ก็เข้าไม่ได้ทั้งสิ้น" ด้วยสำเนียงอันห้วนและเฉียบขาด อย่างเฮี้ยว ๆ อยู่สักหน่อย กรมพระกำแพงเพชรฯ ก็ต้องจำพระทัยออกจากบริเวณนั้นโดยดุษนียภาพ
อย่างไรก็ดีพระราชวังก็ได้สร้างเสร็จ จะด้วยการวางแบบแปลนอย่างเหมาะสมและมีความสง่างามสมเป็นพระราชวังด้วยประการทั้งปวงเริ่มต้นด้วยมีกำแพงแก้วล้อมรอบ มีประตูใหญ่ทางด้านถนนไปมฤคทายวันและชะอำมีที่สำหรับทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์พักผ่อนและเฝ้ายาม มีถนนยาวเหยียดเข้าไปถึงพระที่นั่ง "เปี่ยมสุข"ซึ่งเป็นที่ ประทับของรัชกาลที่ 7และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีมีลักษณะเป็นตึกแบบสแปนิชกลาย ๆ สูงสองชั้นพร้อมทั้งหอสูงสำหรับเด็จพระราชดำเนินขึ้นไปประทับเล่น และทอดพระเนตรไปได้รอบ ๆ ด้านห้องทางขวามือเป็นห้องบรรทมของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี มีเฉลียงเล็ก ๆ สองด้านถัดไปเป็นห้องสรงซึ่งทำอย่างวิจิตร พิศดารมีถังสรงน้ำอย่างสวยงามตามพระบัญชรมีตัวอักษรย่อ "ร.พ." ติดอยู่ในกลุ่มเมฆขาวทุกแห่ง
ต่อจากห้องสรงก็ถึงเฉลียงเดินติดต่อไปถึงห้องบรรทมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทางด้านตะวันออก มีเฉลียงออกไปชมวิวอันสวยสดงดงามอย่างสุดลูกหูลูกตา ต่อจากนั้นก็ถึงห้องสรงน้ำอีกห้องหนึ่งและมีทางสำหรับลงบันไดมายังเบื้องล่าง เลี้ยวซ้ายมือไปเป็นห้องพระกระยาหารต่อจากนั้นก็เป็นห้องประทับเล่นมีพระบัญชาอยู่ รอบด้านตรงกลางห้องตั้งโต๊ะเก้าอี้พอสมควรและตามข้างผนังห้องอีกสี่ด้าน มีเก้าอี้ยาวคลุมด้วยถุงขาวถัดจากห้องประทับเล่นเป็นเฉลียงหินขาวอันกว้างใหญ่มีบันไดลง ไปสู่สวนภายนอกที่กลางสนามใหญ่มีนาฬิกาแดด แบบโบราณติดตั้งอยู่และมีทางเดินไปถึงเขื่อนยาวทางด้านทะเลถัดไปทางขวามือ มีพระตำหนักอีกหลังหนึ่งเรียกว่า "ตำหนักน้อย"ณตำหนักนี้สมเด็จกรมพระสวัสดิ์ฯและพระองค์เจ้าหญิงอาภรพรรณีพระบิดามารดาของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี โปรดเสด็จไปประทับพักผ่อน ในเมื่อตามเสดด็จไปหัวหินด้วยตำหนักน้อยกระทัดรัดอันน่าเอ็นดูชั้นล่างด้านหน้าเป็นห้องประทับเล่น เก้าอี้ยาว เก้าอี้เดี่ยวและตู้โต๊ะพอสมควร ถัดเข้าไปก็ถึงห้องเสวย และมีเฉลียงเล็กๆทางด้านข้างมีแพนทรีสำหรับพักของมีบันไดขึ้นไปถึง ชั้นบนห้องบรรทมอยู่ทางด้านตะวันออกมีเฉลียงแบบ Balcony ยื่นไปข้างหน้าเล็กน้อย แล้วถึง ห้องสรงถัดออกไปอีกห้องหนึ่งเป็นห้อง บรรทมขนาดเล็กแต่ห้องนี้ได้หลังคาลาดแบบตะวันตกทำให้ร้อนอบอ้าวมกกว่าห้องที่มีหลังคาสูงห้องนี้หันไปทางพระที่นั่งเปี่ยมสุข มีสวนโรมันจำลองอยู่พื้นล่างและมีทางเดินไปสู่พระที่นั่งหลังใหญ่ในระยะไม่สู้ไกลกันนัก
ทางด้านซ้ายของพระที่นั่งเปี่ยมสุข มีทองพระโรงอันกว้างใหญ่ เรียกว่า "ศาลาเริง" สำหรับประทับเล่นและใช้เป็นที่ฉายภาพยนตร์ ในเวลากลางคืน พื้นขัดมันอย่างงดงาม เบื้องบนมีเฉลียงเล็ก ๆซึ่งเดินไปได้รอบ ๆ ถ้ามีการเสดงละครกิตติมศักดิ์ ก็ตั้งเวทีทางด้านสุดและตั้งเก้าอี้สองแถวสำหรับผู้ดูศาลาเริงนี้โปร่งมีประตูรอบทุกด้านคล้าย ท้องพระโรงที่วังพญาไท ซึ่งเป็นโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้าในปัจจุบัน นี้ ถัดจากศาลาเริง เยื้องไปทางเบื้องหลังก็ถึงตำหนัก "ปลุกเกษม" เป็นตำหนักโปร่ง ๆ แบบไทยปนสมัยใหม่ (ไทยโมเดิ้รน) มีห้องนอนหลายห้องด้านหลัง ตั้งโต๊ะและเก้าอี้หมู่ และใกล้ ๆ กันนั้นมีห้องน้ำและห้องส้วมชั้นล่างมีห้องอีกหลายห้องเหมือนกัน สำหรับหม่อมเจ้าหญิงที่เป็นโสด ซึ่งใกล้ชิดในราชสำนักโดยเสด็จ พระราชดำเนินไปตากอากาศด้วย ต่อจากนั้นในระยะไม่ห่างไกลเท่าใดนักก็ถึงตำหนักเล็ก ๆ ชั้นเดียวคู่ฝาแฝด การก่อสร้างและการวางห้องเครื่องใช้ คล้ายคลึงกัน หลังที่เรียก "เอิบเปรม" หลังที่ 2 เรียก "เอมปรีด์" ตำหนักฝาแฝดนี้เตี้ยเกือบติดพื้นดินซึ่งสร้างเป็นแบบบังกาโลสำหรับตากอากาศชายทะเลอย่างแท้จริง อยู่ได้อย่างสบายสำหรับผู้ที่ไม่ชอบ บันไดสูง
เดินต่อจากตำหนักคู่แฝดในระยะไกลสักหน่อย จึงถึงศาลพระภูมิ ซึ่งทำเป็นวงกลมประดับด้วยหินสมัยใหม่ แล้วก็ถึงตำหนักยี่สิบห้าตำหนักนี้ไม่มีชื่อ ไพเราะเหมือนกับตำหนักอื่น ๆ ตำหนักนี้เหมาะสำหรับครอบครัวใหญ่ ต่อจากตำหนักยี่สิบห้า แล้วก็ถึง"Log Cabin" ขนาดเล็ก ทำแบบกระท่อมในเมืองฝรั่ง ณ ตำหนักนี้ ในสมัยรัชกาลที่ 7 หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรโปรดประทับอยู่กับครอบครัว ต่อมาพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ ในฐานะราชองครักษ์เวรประจำ พระองค์รัชกาลที่ 7ได้ประทับแทนเพราะโปรดปรานบ้านหลังเล็กนี้มากกว่าการประทับตำหนักโก้ ๆ เช่นผู้อื่น
ทางด้านในมีห้องเครื่อง(ครัว)ใหญ่โตมีทั้งแผนกเครื่องไทยและพระกระยาหารต่างประเทศ เมื่อเครื่องเสวยทำเสร็จและจัดลงในจานชามเรียบร้อยแล้วหัว หน้าคนครัวแม่ครัวช่วยกันเเจัดเรียงรายลงในถาดเงินแล้วห่อหุ้มด้วยผ้าขาวผูกโบว์ตีครั่งประทับตรามีเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังซึ่งแต่งตัวแบบข้าราชการสำนักคือนุ่งผ้าม่วงสีน้ำเงินใส่เสื้อนอกคอตั้งแบกไปยังพระที่นั่ง"เปี่ยมสุข"ผู้ใดจะทำลายตราครั่งไม่ได้จนกว่าจะถึงเวลาเสวยและหัวหน้าแผนกรับใช้ประจำโต๊ะเป็นผู้แกะครั่งด้วยตนเอง ต่อจากห้องเครื่องก็ถึงโรงรถและที่พักของพวกมหาดเล็กสำนักพระราชวังทางด้านประตูหลังมีบ้านผู้ดูแลสถานที่ทั่วไปสมัยก่อนมียศถึงเจ้าคุณในบริเวณ พระราชวังมีสระขนาดใหญ่ เพราะตอนสร้างพระราชวังได้ขุดเอาดินไปถมที่ให้สูงส่วนน้ำสำหรับใช้ ในสมัยก่อนต้องใช้รถยนต์ขนมาจากเพชรบุรี เมื่อการก่อสร้างพระราชวังเสร็จเรียบร้อย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยข้าราชบริพาร ประทับแรมครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2473 และได้มีการสมโภชขึ้นพระราชวังด้วย
ต่อมาใน พ.ศ.2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองซึ่งขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯและสมเด็จพระราชินี กำลังประทับอยู่ที่วังไกลกังวลอีก แต่แล้ว ก็มีเรื่องยุ่ง ๆ ตลอดมา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงมีพระราชดำรัสว่า "ตั้งชื่อไกลกังวล อาจจะผิดไปเสียแล้ว ที่จริงดูเหมือนจะใกล้กังวลมากกว่า" "ไกลกังวล" ในสมัยพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาทรงดำรงตำแหน่งประธานผู้สำเร็จราชการมีสภาพคล้ายคลึงกับสมัยพระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าฯ ทรงใช้เป็นพระราชฐานส่วนพระองค์ เพราะว่า พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯประทับบนพระที่นั่งเปี่ยมสุขใช้ห้องพระบรรทมเป็นห้องบรรทมของพระองค์ท่านและ ห้องประทับของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เป็นห้องบรรทมของหม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา ส่วนข้ารับใช้ก็อยู่ตามตำแหน่งอื่น ๆ ตามตำแหน่งและฐานะ